วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวคิดสร้างสรรค์

 Michael Michalko unveils the secrets of creative genius and brings life-changing creative techniques within everyone's reach.  His arsenal of powerful creative thinking tools can be used to tackle virtually any type of technical problem and to create new ideas.  Without a doubt, his tools are the closest thing there is to a tactical instruction manual for thinking like a genius.  His tools will help you approach problems with new vision, and you will discover a world of innovative solutions to everyday, and some not-so-everyday, challenges.  Take this opportunity to explore and study Michael's creative thinking techniques, exercises, articles, and experiments.  A trip to your local library was never this worthwhile... or so much fun.
 

ไมเคิล Michalko เผยความลับของอัจฉริยะนำความคิดสร้างสรรค์และเทคนิคการเปลี่ยนแปลงชีวิตความคิดสร้างสรรค์ในการเข้าถึงของทุกคน คลังแสงของพระองค์ที่ทรงพลังความคิดสร้างสรรค์เครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาความจริงประเภทของปัญหาด้านเทคนิคและการสร้างความคิดใหม่ ๆ โดยไม่ต้องสงสัยเครื่องมือของเขาเป็นสิ่งที่ใกล้มีในคู่มือการใช้กลยุทธ์สำหรับการคิดอย่างอัจฉริยะ เครื่องมือของเขาจะช่วยให้คุณใกล้ปัญหาเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ใหม่และคุณจะได้พบโลกของโซลูชั่นนวัตกรรมเพื่อชีวิตประจำวันและบางรายไม่ - SO - ทุกวัน, ความท้าทาย ใช้โอกาสในการสำรวจและศึกษาเทคนิคการคิดสร้างสรรค์ของไมเคิล, การออกกำลังกายบทความนี้และการทดลอง การเดินทางไปห้องสมุดท้องถิ่นของคุณได้ไม่คุ้มค่านี้ ... หรือสนุกมาก

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สังคหวัถุ 4

สังคหวัตถุ 4

 
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
เว้นจากการพูดเท็จ
เว้นจากการพูดส่อเสียด
เว้นจากการพูดคำหยาบ
เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

ความหมายของธรรมาภิบาล

ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งองค์การภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญ และนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์การ

ธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน โดยมุ่งให้เกิดความเป็นอิสระในการบริหารงาน การลดการควบคุม ให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุตามเป้าหมายสถาบันที่ทำหน้าที่บริหารงานภาครัฐ

นอกจากจะต้องกำหนดบทบาทของตนอย่างชัดเจนแล้ว มีความพร้อมที่จะถูกตรวจสอบ ต่อแนวทางการใช้อำนาจในการดำเนินงาน ส่วนในองค์การภาคเอกชนก็เช่นเดียวกันที่หันมาให้ความสนใจ ในเรื่องของบรรษัทภิบาล Coporate good governance

วิธีการและเป้าหมายของการปฏิรูประบบการบริหารของส่วนราชการ

จะใช้ธรรมาภิบาลเป็นเสมือนเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถโดยมีการส่งเสริมบทบาทให้เกิดการทำงานที่ปราศจากการคอร์รัปชั่น หรือการไม่นำผลประโยชน์ของสาธารณะมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

มีการใช้หลักนิติธรรมในการดำเนินงาน หรือสร้างกรอบในการดำเนินงานเพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม ลดกฎระเบียบที่มากจนเกินไป ที่เป็นต้นเหตุของการทำงานที่ล่าช้า มีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจนเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม มีกระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใส มีกฏ กติกา มารยาท ในการบริหารงาน

ความหมายของธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน

ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่งยั่งยึน และเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ

เพื่อบรรเทาป้องกัน หรือแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติภยันตรายที่หากจะมีมาในอนาคต เพราะสังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สอดคล้องกับความเป็นไทย รัฐธรรมนูญ และกระแสโลกยุคปัจจุบัน (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542)

แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างธรรมาภิบาล

การส่งเสริมให้เกิดการสร้างธรรมาภิบาลนั้น มาจากความร่วมมือของทั้งสถาบันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม

บทบาทของรัฐที่สำคัญนั้น คือรัฐเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐาน และรักษากฎระเบียบต่าง ๆ การสร้างธรรมาภิบาลของรัฐนั้นจำเป็นต้องอาศัยระบบการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ มีภาระรับผิดชอบภายใต้กฎหมาย และนโยบายที่โปร่งใสตรวจสอบได้

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีการปฏิรูประบบราชการเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบภายใต้กรอบของกฎหมาย

ซึ่งจุดมุ่งหมายในการสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐนั้นจะต้องพยายามปฏิรูปการบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักเหตุผล และหน้าที่ มีระบบความรับผิดชอบด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมาใช้ และให้มีความโปร่งในการปฏิบัติงาน ยกระดับความชำนาญของภาครัฐให้มีความทันสมัย เป็นต้น

ส่วนบทบาทขององค์การภาคเอกชน และบทบาทของประชาสังคมที่มีต่อการสร้างธรรมาภิบาล คือ การรวมตัวกันของสาธารณชนในการต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบ โดยรัฐควรมีการหามาตรการที่จะกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงการทำผิดจรรยาบรรณ เป็นต้น

หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ 6 ประกอบ คือ

1.หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรือตามอำนาจของตัวบุคคล

2.หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียมมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

3. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบต่อผลของการกระทำนั้น

4. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบ ตระหนักในหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการเคาระในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน

5.หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

6. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร
การบริหารงานในรูปแบบของธรรมาภิบาลนั้นจะเน้นที่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคง ไม่ล้มละลาย ไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย พนักงานมีความมั่นใจในองค์การว่าสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ในระยะยาว การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารนั้น เพื่อให้องค์การมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม

ปัจจุบันการบริหารงานในภาครัฐได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมากในเรื่องของความโปร่งใสในการดำเนินงาน ดังนั้นการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในหน่วยงานของรัฐก็เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือศรัทธาว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการทุจริต คอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐจะลดลง ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการบริหารงานของหน่วยงานในภาครัฐ ได้แก่

1. ภาระรับผิดชอบตรวจสอบได้
2. ความโปร่งใส
3. การปราบปรามการทุจริตและการประพฤติมิชอบ
4. การสร้างการมีส่วนร่วม
5. การสร้างกรอบทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
6. การตอบสนองที่ทันการ
7. ความเห็นชอบร่วมกัน
8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง

1. ความรับผิดชอบตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ ต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใด ๆ

ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย

2. ความโปร่งใส
ความโปร่งใส หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย

3. การปราบปราบทุจริตและการประพฤติมิชอบ
การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐเองและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉล และเสริมสร้างธรรมาภิบาล

4. การสร้างการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ และเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการทำดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี

5. การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง
ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการละเมิด หรือฝ่าฝืน การมีระบบกฎหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม

6. การตอบสนองที่ทันการ
ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ

7. ความเห็นชอบร่วมกัน
สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก

8. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า

9. ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน

สรุป

การใช้หลักธรรมภิบาลทำให้องค์การสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตาม และตรวจสอบ โดยมีประชาชน หรือองค์การภายนอกมีส่วนร่วม

ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหารองค์การ เพราะการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในองค์การเป็นการสร้างสำนึกที่ดีในการบริหารงาน และการทำงานในองค์การ และจัดระบบที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส โดยคำนึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ทีได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐนั้นจะเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  
 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลง
            เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติ บนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
            1.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
            2.  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
            3.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
            จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้าน ICT โดยมุ่งให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความพอประมาณ , ความมีเหตุผล , และความจำเป็นจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ดังนี้
            1.  การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในกิจการของผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุน ขยาย และเพิ่มส่วนแบ่งตลาด รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ และให้บริการในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า
            2.  การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหาร และการให้บริการของภาครัฐ โดยให้รัฐจัดตั้งองค์กรกลางระดับชาติร่วมรับผิดชอบการพัฒนา และส่งเสริมการใช้ ICT ในภาครัฐเพื่อให้เกิดบูรณาการ และเอกภาพในระบบข้อมูล การวางแผน การประสานงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดซื้อ    จัดจ้างที่โปร่งใส  ให้ตรงความต้องการ  และลดการซ้ำซ้อนในการลงทุน  เพื่อให้ภาครัฐสามารถรวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ด้วยมาตรฐานเปิด และมีระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูงสำหรับการบริหารของหน่วยงานภาครัฐ และการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
            3.  การพัฒนา และการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ใช้ประโยชน์ ICT ในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมการเรียนรู้ที่มีศักยภาพ และวัฒนธรรมอันดีงาม
                ทั้งนี้ เงื่อนไข การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
            1.  เงื่อนไขด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            2.  เงื่อนไขด้านความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

บทนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระหัวเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนี้ คือ การดำเนินชีวิตที่ยึดเส้นทางสายกลางคือความพอดี ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
ประกอบด้วยหลักสำคัญ     6 ประการ คือ      
(1.) ความพอดีด้านจิตใจ
(2.) ความพอดีด้านสังคม
(3.) ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(4.) ความพอเพียงด้านการศึกษา
(5.) ความพอดีด้านเทคโนโลยีและเงินทุน
(6.) ความพอเพียงด้านเศรษฐกิจปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอเพียงทางเศรษฐกิจ

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

A. การสร้างอีเมล์ (Create email account) 
 การสร้างอีเมล ต้องสร้างใน cpanel ในที่นี้ info@pantipwebhosting.com เป็นตัวอย่างในการอธิบาย มีขั้นตอนการสร้างเมล์ ดังนี้
โดเมนที่เพิ่มใหม่ สามารถเชค webmail ได้อิสระ จากโดเมนหลัก ดังนี้
http://abc.com/webmail
 
   
 1. เปิด control panel ของเว็บ pantipwebhosting.com ซึ่งเป็นโดเมนหลัก โดยพิมพ์ url ว่า http://pantipwebhosting.com/cpanel หรือ http://pantipwebhosting.com:2082  
  
   
 2. จะแสดง window เพื่อใส่ User name และ Password ใส่เรียบร้อยให้คลิีก OK 
  
   
 3. เข้าสู่หน้า cPanel แล้ว จะทำการสร้าง email account โดยเลือก และเลือก หัวข้อ Add/Remove/Manage Accounts 
  
   
 4. เข้าสู่ Mail Account Maintenance จะเห็นว่ายังไม่ีเคยสร้างอีเมล์ ให้คลิ๊กที่ [Add Account] 
  
   
 5. ทำการสร้างชื่อ ในที่นี้จะสร้างอีเมล์ info@pantipwebhosting.com ให้ใส่ข้อมูลให้ครบ Email , @ , Password และ Quota  
 Email = ใส่ชื่อ email name (info)
@ = เลือกโดเมน (pantipwebhosting.com)
password = ใส่ password ของอีเมล์นี้ (22222222)
Quota =ขนาดของพื้นที่อีเมล์ (100Meg) ช่องนี้ควรจะใส่พื้นที่ให้มากเีพียงพอ เพราะจะพบบ่อยกรณีพื้นที่เก็บเมล์น้อยเกินไป ทำให้เกิดปัญหารับส่งเมล์ไม่ได้
 
   
  
   
 6. หากใส่ข้อมูลครบแล้วคลิ๊กปุ่ม create จะแสดงข้อความว่าอีเมล์ info@pantipwebhosting.com ถูกสร้างขึ้นเรียบร้อย 
  
   
 ึ7. คลิ๊กปุ่ม Goback เพื่อตรวจสอบอีเมล์ใหม่ หากสร้้างอย่างถูกต้องจะมีรายชื่อเพิ่มขึ้นมาตามรูปภาพด้านล่าง 
  
   
 8. ท่านสามารถเช็ค webmail ได้โดยเปิด Internet Explorer แล้วพิมพ์ url ดังนี้
http://abc.com/webmail
ดูวิธีการใช้งาน webmail ได้ที่ http://www.thaiclass.com/support-doc/howto_webmail.html
 
   
   
   
 B. วิธีการเข้าใช้งาน webmail  
 1. การเข้าใช้งาน Webmail : ในที่นี้จะใช ้services@thaiclass.com เป็นตัวอย่างในการอธิบาย ขั้นตอนแรกเปิด Internet Explorer แล้วพิมพ์ url ของแต่ละโดเมนเนมแล้วตามด้วย /webmail เช่น www.thaiclass.com/webmail  
  
   
 2. หลังจากเข้าไปที่ www.yourdomain/webmail แล้วจะปรากฏ popup เพื่อใส่ User Name และ Password หน้าตา pop up อาจจะไม่เหมือนกันทุกเครืื่อง ขึ้นอยู่กับการใช้ browser ที่ต่างกัน ดังรูป 2.1.a และ 2.1.b 
   
 2.1.a เข้าด้วย Mozilla Firefox 
  
   
 2.1.b เข้าด้วย Internet Explorer 
  
   
 2.2 ช่อง User Name ให้ใส่ ชื่อ email account + yourdomainเช่น account ชื่อ services@thaiclass.com ก็ให้ใส่ค่าใน user name เป็น services@thaiclass.com
***ซึ่งเวลา login จำเป็นต้อง User Name ให้ใส่เต็ม เช่น services@thaiclass.com จะใช้เฉพาะ services อย่างเดียว ไม่ได้***เพราะบางท่านเคยมีปัญหา login เข้าได้ แต่ข้างใน folder-mail ว่างเปล่า มองไม่เห็นเมล์

2.3 ช่อง Password ใส่ password ตามปกติ แล้วก็ทำการกดปุ่ม ok เพื่อเข้าสู่ระบบต่อไป
 
   
 3. เมื่อทำการเข้าระบบได้แล้ว จะปรากฏหน้าการเลือกเข้าใช้ webmail โดยจะมี web mail ให้เลือกใช้ 2 แบบคือ Horde และ Squirrel Mail ซึ่งถ้าใช้ Horde จะสามารถ support ภาษาไทยได้ และมีส่วนของ Change password (อ่านหัวข้อถัดไป), Fowarding Options, Autoresponder options, Configure Mail Client และ Email Delivery Route 
   
  
   
 4. การเปลี่ยน password : หากต้องการเปลี่ยนรหัสผ่านหรือ Password นั้น ให้เข้าไปที่ icon แรก ที่ชื่อ Change Password ก็จะปรากฏหน้าขึ้นมาให้แก้ไข Password ดังรูปด้านล่าง 
   
  
 โดยให้ทำการใส่ New Password และกด ปุ่ม Change Password เพื่อเป็นการเปลี่ยน Password 
   
 5. วิธีการใช้ Horde : เมื่อเข้ามาในส่วนของ Horde แล้ว จะขึ้นข้อความต้อนรับ และเลือกภาษา 
  
   
 ระบบจะทำการเปิด webmail ออกมาและสามารถที่จะเริ่มใช้งานเมล์ได้ิแล้ว โดยให้คลิ๊ก folder-Mail ซึ่งอยู่ด้านขวาจอ 
  
   
 6. เมนูที่ใช้งานบ่อย : มี 3 เมนูแรก ได้แก่  
  
   
 6.1 Inbox : รับอีเมล์ 
  
   
 6.2 New Message : ส่งอีเมล์ 
  
   
 6.3 Folder : เป็นส่วนที่ไว้จัดการกับ folder สามารถสร้าง, ลบ, เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ ฯลฯ และเป็นที่เก็บเมล์ส่งออก ซึ่งอยู่ใน folder-Sent 
  
   
   
 7. การลบเมล์ : หากต้องการลบอีเมล์ ให้ทำเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยม แล้วคลิ๊กปุ่ม delete ซึ่งอยู่เมนูแรก 
  
   
 เมื่อ delete แล้วเมล์ก็ยังแสดงอยู่แต่จะเห็นมีเส้นขีดฆ่า หากต้องการลบถาวรให้ทำเครื่องหมายถูกในช่องสี่เหลี่ยม แล้วคลิ๊กปุ่ม Purge delete ซึ่งอยู่เมนูด้านขวาสุด เมล์นี้ก็จะหายไปจากระบบ (ซึ่งต้องแน่ใจว่าไม่ต้องการเมล์นั้นแล้ว เพราะไม่สามารถกู้คืนมาได้)